วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา ยาสีฟันเดนทิสเต้กับความสำเร็จในการใช้กลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม

คำถามจากกรณีศึกษา
1. ทำไมยาสีฟันเดนทิสเต้ จึงหนีการเผชิญหน้าเพื่อแข่งขันโดยตรงกับยาสีฟันยักษ์ใหญ่
ตอบ เพราะว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ มีการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ทีมีงบไม่อั้น จึงทำให้เดนทิสเต้ไม่อยากที่จะแข่งขันด้วย
2. เดนทิสเต้ได้นำกลยุทธ์อะไรเป็นตับขับเคลื่อน และทำไมจึงใช้กลยุทธ์ดังกล่าว
 ตอบ กลยุทธ์ที่ใช้ คือ กลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม พร้อมมุ่งเป้าไปที่คู่เพิ่งแต่งงานกัน เหตุที่ใช้เพราะว่า เดนทิสเต้ต้องการสร้างความแตกต่างจากยาสีฟันยี่ห้ออื่น รวมทั้งใช้เป็นจุดขายของเดนทิสเต้อีกด้วย
3. ปัจจัยสำคัญอะไร ที่ยาสีฟันเดนทิสเต้ สามารถเข้ามามีส่วนแบ่งตลาดได้ในระยะเวลาอันสั้น
 ตอบ มีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน เพราะโดยส่วนใหญ่ยาสีฟันทั่วไป จะดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นหลัก และช่วยระงับกลิ่นปาก แต่เดนทิสเต้ มีจุดขายในเรื่องการระงับกลิ่นปากจากการช่วลลดแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในช่วง เวลาหลับนอน อีกทั้งยังสามารถตอบโจทย์ที่ผู้บริโภคต้องการได้ คือ การมีลักษณะเด่นและความแตกต่าง
4. สมมติว่าท่านได้รับภาระหน้าที่ในการเจาะตลาดยาสีฟันยี่ห้อหนึ่ง ท่านจะใช้กลยุทธ์ใด และจะกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้ลักษณะเด่นอะไรที่คิดว่ายังพอมี ศักยภาพในการทำกำไร รวมทั้งสร้างความพึงพอใจกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
ตอบ -กลยุทธ์การให้ข่าวสาร( Public Relation Strategy) เช่น การร่วมมือกับสื่อบางสื่อ เพื่อจัดเทศกาลในโอกาสพิเศษ
      - กลยุทธ์ การใช้พนักงานขาย (Personal  Strategy) เช่น คิดค้นโปรแกรมการให้ผลตอบแทนการขาย ( Incentive Program ) ใหม่ๆ เพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงานขายที่ทำยอดขายตามเป้า
     - มีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ โดยใช้เกณฑ์คุณภาพสูง ราคาสูง เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่า ยี่ห้อยาสีฟันชนิดนี้มีคุณประโยชน์และคุณค่าในสายตาผู้บริโภค
นางสาววิชุดา ศิริ บ.กจ.3/2

กรณีศึกษา: บริษัท Nokia ขยายตลาดดัวยการทำคอมพิวเตอร์แล็ปทอป

นางสาววิชุดา ศิริ บ.กจ.3/2
คำถามจากกรณีศึกษา
1. ท่านคิดว่า บริษัท Nokia ตัดสินใจกระโดดข้ามมาทำธุรกิจคอมพิวเตอร์แล็ปทอป เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร จงให้เหตุผลประกอบ
  • จากความเห็นส่วนตัวคิดว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจาก ความน่าเชื่อถือของโนเกียในด้านของแล็ปทอปยังมีน้อยในด้านนี้ อีกทั้งบริษัทคู่แข่งขันนั้นมีความเชี่ยวชาญมากกว่าในสายตาของผู้บริโภค เป็นผลให้การทำการตลาดเพื่อแบ่งส่วนตลาดเป็นไปได้ยาก
2. "โนเกียควรปกป้องตลาดมือถือของตนเองต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องลงมาทำตลาดคอมพิวเตอร์ให้เสียเวลา ซึ่งยังมีช่องว่างอยู่มากมายอย่างตลาดของ Smart-Phone ที่โนเกียสามารถรุกเข้าไปทำตลาดอย่างจริงจัง" อยากทราบว่า Smart-Phone คืออะไร และท่านเห็นดัวยกับกลยุทธ์ตามดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ อย่างไร
  • Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป ทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้น เรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดียว 
  • จากข้อความผมเห็นดัวย เนื่องจากถ้าพิจารณาจากตลาดมือถือยังถือว่ากว้างมาก นอกจากนั้นโนเกียยังเป็นยี่ห้อมือถือที่ลกค้าให้ความเชื่อมั้น ควรตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้มากจะเป็นการดีที่สุด
3. บริษัท Apple ซึ่งเดิมเป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ในนามของ Macintosh ที่ได้ขยายธุรกิจข้ามมายังอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือในนามของ iPhone และยังสามารถยืนหหยัดทำสำเร็จจนเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ท่านคิดว่าบริษัท Apple ได้ชูกลยุทธ์ใดในการเข้าถึงกลุมลูกค้า
  • Apple ได้ชูกลยุทธ์ด้านการออกแบบสินค้า โดยออกแบบให้เป็นผลิตภัณฑ์แฟชั่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคนรุ่นใหม่ที่ชอบเทคโนโลยี ทั้งนี้ตลาดส่วนใหญ่เป็นตลาดระดับบนที่มีรายได้สูง


วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คลื่น ทั้ง 4 ลูก

คลื่นลูกแรก คือ ยุคแห่งเกษตรกรรม ครับ สังเกตได้จากการที่คนสมัยก่อนที่ มีที่เยอะทำเกษตรกรรมค้าขายเกี่ยวกับสินค้าเกษตรกรรม จะร่ำรวยมีเงินมีทอง และ ผู้ที่หลงเหลือจากยุคนั้นก็ยังมีให้เห็นอยู่ประปราย โดยที่ถ้าเราจะทำในยุคนี้นั้นแสนจะลำบากราคาค่าที่ดินเพิ่มขึ้นมาก คู่แข่งก็มากมาย
คลื่นลูกที่สอง คือ ยุคของอุตสาหรรม ช่วงที่ประเทศเกิดการพัฒนา เปลี่ยนแรงคนแรงสัตว์ให้เป็นแรง เครื่องจักร ก็ทำให้คนเบาแรงลง และก็ทำให้เจ้าของธุรกิจ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเจริญรุ่งเรืองไปตามๆกัน รวมถึงโรงงานผลิตต่างๆนาๆที่ปัจจุบันก็ยังทำรายได้ดีอยู่ แต่ก็อีกเช่นกัน ครั้นเราจะเป็นเจ้าของโรงงานแบบนั้นอีก คงจะยากแล้ว เพราะหมดแล้วซึ่งยุคที่รุ่งเรืองด้านอุตสาหกรรม ต้องมีเงินมากพอเท่านั้นถึงจะอยู่ได้ยาวกว่าและเป็นอุตสาหกรรมที่ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต้องใช้นั่นเอง ไม่เช่นนั้นแล้ว ในความเห็นผม เดี๋ยวก็ดับไป
คลื่นลูกที่สาม คงไม่ต้องบรรยายมากเพราะมันคือยุคแห่งการสื่อสารไร้พรหมแดนยุคแห่งเทคโนโลยี ยุคที่จะทำให้คนที่มีความรู้ และทันสมัยพอที่จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ จะเหมือนพยัคฆ์ติดปีกเลยทีเดียว สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายรูปแบบ และเป็นพื้นฐานของการทำงานในอีกหลายๆด้าน แทบจะทุกด้านเลยทีเดียว
และคลื่นลูกใหม่ที่ไม่ได้ใหม่กิ๊ก แต่สำหรับเมืองไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับเท่าที่ควร ก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามันคือลูกที่ 4 จริงๆ คือ ยุคของธุรกิจเครือข่าย ปัจจุบัน ต่างประเทศมากมายธุรกิจเครือข่ายเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เปิดโอกาสให้คนทุกระดับชั้นเข้ามาศึกษาและสามารถประสบความสำเร็จได้ทั่วถึงกัน ณ จุดนี้เองที่ทำให้ผม มองดูธุรกิจเครือข่าย ในมุมมองใหม่ๆ มุมมองของการกระจายรายได้
การกระจายรายได้ของธุรกิจเครือข่ายนั้นไม่ธรรมดา อยู่ที่เจตนาของผู้ก่อตั้ง ว่าอยากให้มีการกระจายแบบเน้นที่กลุ่มไหน กลุ่มผู้บริโภค หรือ กลุ่มนักขาย ส่วนใหญ่ในช่วงแรกๆของการเปิดตัวธุรกิจแนวๆนี้ มักจะเป็นธุรกิจที่เน้นเครือข่ายนักขายเพราะตรงนั้นเองจะทำให้ ผู้ก่อตั้งได้รับผลประโยชน์สูงมากในระดับหนึ่ง แต่ก็เกิดการตัดราคาเหมือนการขายของแข่งกันขึ้น แข่งกันให้มากกว่า ให้กระจายกว่า จนสุดท้ายถึงตอนนี้ ถึงที่สุดแล้วคือการกระจายรายได้ที่ 60% ของราคาสินค้า ให้ผู้ที่เข้าร่วมธุรกิจ ส่วนตัวผมคิดว่าหากมากกว่านี้ สินค้าที่บริโภค ราคาจะไม่สมน้ำสมเนื้อกับคุณภาพแล้วนั่นเอง จึงกล่าวได้ว่าช่วงเวลาแห่งการสู้รบปรบมือกันเรื่องของการแบ่งจ่ายผลประโยชน์นั้นหมดไปแล้ว
โดยผู้นำที่เป็นแนวหน้า คือ บริษัท AimStar นั่นเอง การกระจายรายได้ถึง 60% และการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน ได้คุณภาพเต็มที่ และการสอดคล้องในชีวิตประจำวัน นั้นลงตัวแบบสุดๆ หากจะมีบริษัทที่เกี่ยวกับธุรกิจเครือข่ายแนวนี้ออกมาอีก ด้วยความคิดเห็นของผม คงไม่มีนัยสำคัญที่จะมาแข่งขันกันเรื่อง เหล่านี้อีกแล้ว ตอนนี้คงต้องแข่งขันกันที่


ที่มา : http://myaimstar.exteen.com/20100804/entry

นางสาววิชุดา  ศิริ บ.กจ.3/2

ความเป็นมาของ วอลมาร์ท

Wal – Mart คืออะไร?
Wal – Mart เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ขายสินค้าราคาต่ำ โดยแยกประเภทของร้านเป็น 3 กลุ่มคือ
1. Discount Store ที่ขายสินค้าหลากหลายโดยเน้นสินค้าทั่วๆไปที่ไม่ใช่อาหารสด ซึ่งจะเน้นการขายแบบบริการตนเอง ภายในร้านไม่มีการตกแต่งมากนัก ( คล้ายกับ Big- C , Lotus แต่ไม่มีกลุ่มอาหารสด)
2. Supercenters ที่คล้ายกับ Discount Store แต่มีแผนกอาหารสดด้วย (แบบเดียวกับ Big-C , Lotus ,Carrefour ในไทย) และ
3. Sam’s clubที่เป็นร้านค้าส่งสำหรับสมาชิก( แบบเดียวกับ Makro ในไทย) โดยปัจจุบันมีสาขารวมกันทั้งในและนอกสหรัฐอเมริกากว่า 4,203 สาขา มียอดขายรวมในปี 2001 มากกว่า 191 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยถือได้ว่าเป็นเครือข่ายร้านค้าปลีกอันดับหนึ่งในอเมริกาและเป็นอันดับหนึ่งของโลก

ที่มาของ Wal – Mart
Wal – Mart สาขาแรกเกิดที่รัฐอาร์คันซอร์ สหรัฐอเมริกาในปี 1962 โดยเจ้าของคือแซม วอลตัน (บิดาของแซม ร็อบสัน วอลตัน มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลก ) ที่เริ่มต้นมีประสบการณ์เปิดร้านค้าปลีกชื่อ Ben Fracklin ซึ่งเป็นร้านค้าขายสินค้าทั่วไป ( Variety Store) ในรูปแฟรนไชส์ในปี1945 ซึ่งก่อนจะมาเป็น Wal – Mart แซมได้เพิ่มพูนประสบการณ์ในธุรกิจค้าปลีกด้วยการเปิดห้างสรรพสินค้าขนาดเล็กชื่อ Eagle Store และร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าทั่วไปแบบบริการตัวเองชื่อ วอลตัน ไฟล์ แอนด์ ไดม์
จากสาขาแรกของ Wal – Martในปี1962 Wal – Mart ได้เติบโตอย่างช้าๆเป็น 51 สาขาในปี 1972 และ276 สาขาในปี 1980 จนกลายเป็นร้านค้าปลีกที่มีขนาดและเครือข่ายกว้างขวางที่สุดในสหรัฐอเมริกาในปี 1990 โดยมีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จคือสินค้าคุณภาพดี ราคาต่ำ การให้บริการที่สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า และการควบคุมค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของ Wal – Mart
จากการศึกษาความเป็นมาและกลยุทธ์ในการทำธุรกิจของ Wal – Mart ผมได้ลองสรุปปัจจัยที่ทำให้ Wal – Martประสบความสำเร็จในธุรกิจค้าปลีกไว้ 6 ประการคือ

1.บุคลิกส่วนตัวของเจ้าของ


บุคลิกและปรัชญาการดำเนินธุรกิจของ Wal – Mart ดูจะสะท้อนแนวคิดและลักษณะส่วนตัวของเจ้าของได้เป็นอย่างดี ในธุรกิจ Discount Store ที่หัวใจของธุรกิจอยู่ที่การลดต้นทุน เพื่อใช้ราคาขายที่ต่ำเป็นตัวจูงใจลูกค้า ชีวิตของแซม(หมายถึงแซมคนพ่อที่ก่อตั้งห้าง ไม่ใช่ลูกชายที่เป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกคนปัจจุบันนะครับ)ดูจะเป็นตัวอย่างที่สะท้อนแนวคิดนี้เป็นอย่างดี
แซมเป็นนักธุรกิจที่แต่งตัวง่ายๆ ขับรถกระบะเก่าๆ อยู่ในบ้านหลังเล็กๆชานเมือง ใช้ชีวิตกินอยู่แบบง่ายๆเหมือนคนชั้นกลางทั่วไปทั้งๆที่ธุรกิจของเขาประสบความสำเร็จมหาศาล ( ผมคิดว่าบุคลิกของแซม วอลตัน ดูจะคล้ายกับมหาจำลองของไทย) โดยเขาให้เหตุผลกับสื่อมวลชนในการที่เขาใช้รถกระบะแทนรถเก๋งราคาแพงว่า “สะดวกในการนำสุนัขนั่งไปด้วย”
ในช่วงที่กิจการยังไม่ใหญ่นักแซมเคยเดินทางไปพร้อมกับผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเพื่อติดต่อกับผู้ผลิตและผู้จัดหาสินค้าในเมืองต่างๆ โดยทั้งหมดเช่าโรงแรมเล็กๆราคาถูก อยู่ห้องละหลายๆคน แทนที่จะเช่าโรงแรมหรูกลางเมืองแบบผู้จัดการของบริษัทคู่แข่ง
ลองคิดดูสิครับว่าสำหรับบริษัทที่ขายสินค้าราคาประหยัด โดยเน้นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยมีเจ้าของใช้ชีวิตเป็นตัวอย่าง พนักงานระดับบริหารจะกล้าเสนอขอรถประจำตำแหน่งหรูๆ ขอพักโรงแรมแพงๆ หรือตั๋วเครื่องบิน first class เวลาบินไปติดต่อธุรกิจไหม ซึ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ผู้บริหารของบริษัทคู่แข่งของ Wal – Martในธุรกิจ Discount Store ทำ

2. การเลือกทำเลที่ตั้ง


Wal – Martในระยะเริ่มต้นจะเลือกทำเลในเมืองเล็กๆที่มีประชากรไม่เกิน 10,000 คนและเลือกตั้งสาขาในแถบวงแหวนรอบเมือง โดยอาศัยชื่อเสียงของร้านในเรื่องราคาเป็นตัวดึงดูดลูกค้าในเมืองใกล้เคียงที่ไม่มีสาขาให้เข้ามาซื้อสินค้า ซึ่งการเลือกเมืองเล็กๆเป็นการหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงกับห้างใหญ่ๆที่มักเลือกทำเลในเมือง และช่วยให้ค่าใช้จ่ายเรื่องที่ตั้งต่ำลง โดยการขยายสาขาในแต่ละเมืองทาง Wal – Mart จะพิจารณาจากระยะทางที่ศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทจะสามารถจัดส่งสินค้าให้ร้านได้ภายใน 1 วัน และอยู่ในระยะทางที่ผู้บริหารจะสามารถดูแลอย่างทั่วถึงได้


3.การกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ

เมื่อมีการขยายสาขาออกไปอย่างกว้างขวาง Wal – Martได้พัฒนาระบบศูนย์กระจายสินค้าของตนเองในการส่งให้สาขาต่างๆ แทนที่จะให้ผู้ผลิตเป็นผู้ส่งตรงไปยังสาขา ซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเสียเวลา (ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ในกลุ่มเซ็นทรัลของไทยนำมาใช้ โดยเปิดศูนย์กระจายสินค้า David Distribution Center ขึ้นที่บางบัวทอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้าเข้าสาขาและ ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง )
ปัจจุบันศูนย์กระจายสินค้าของ Wal – Mart ในสหรัฐอเมริกามีกว่า 54 ศูนย์ แต่ละศูนย์มีพื้นที่ประมาณ 1.2 ล้านตารางฟุต หรือพอๆกับสนามฟุตบอล 24 สนามอยู่ภายใต้อาคารเดียวกันซึ่งควบคุมการรับสินค้า จัดเก็บและเรียงสินค้าเข้ารถบรรทุกสำหรับส่งให้แต่ละสาขาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยใช้สายพานลำเลียงสินค้าที่ใช้ระบบเลเซอร์นำทางและใช้บาร์โค้ดบนกล่องในการบันทึกข้อมูลในการรับ ตรวจสอบ และเรียงสินค้ามาใช้ ซึ่งศูนย์กระจายสินค้าแต่ละแห่งจะสื่อสารผ่านระบบดาวเทียมติดต่อกับสินค้าและสำนักงานใหญ่ทำให้ทางผู้บริหารของ Wal – Mart สามารถรับรู้ยอดขาย ข้อมูลสินค้าคงคลัง และข้อมูลอื่นๆที่เกิดขึ้นในแต่ละสาขาและทุกศูนย์การกระจายสินค้า เพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาได้ตลอดเวลา
ระบบศูนย์กระจายสินค้าที่มากด้วยประสิทธิภาพของ Wal – Mart ทำให้ Wal – Martสามารถจัดส่งสินค้าให้แก่สาขาเมื่อได้รับคำสั่งซื้อในเวลาเพียง 1 – 2 วัน ขณะที่คู่แข่งต้องใช้เวลาเฉลี่ยถึง 5 วัน และต้นทุนในการจัดส่งสินค้าของ Wal – Martมีเพียง 3 % ของยอดขายขณะที่คู่แข่งทีต้นทุนอยู่ที่ 4.5 –5 %

4.การจัดหาสินค้า
ในธุรกิจ Discount Store การจัดหาสินค้าที่มีคุณภาพในระดับราคาที่ต่ำเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ โดย Wal – Martจะเน้นการจัดซื้อโดยตรงจากผู้ผลิตหรือคนกลางทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ได้ราคาต่ำที่สุด โดยใช้เทคนิคการเจรจาต่อรอง การสั่งสินค้าล๊อตใหญ่ๆเพื่อนำมาจัดรายการส่งเสริมการขาย การซื้อแบบยกล๊อตหรือล้างสต๊อกในสินค้าบางรุ่นของผู้ผลิต รวมทั้งอาศัยข้อได้เปรียบจากการมีระบบกระจายสินค้าของตัวเองที่ผู้ผลิตไม่ต้องมีภาระการจัดส่งสินค้าไปให้แต่ละสาขาของร้านทำให้ Wal – Mart ต่อรองราคาได้ต่ำกว่าคู่แข่ง
นอกจากนี้การมีจำนวนสาขาที่มากยิ่งทำให้อำนาจต่อรองของ Wal – Mart ในเรื่องราคาสินค้ายิ่งสูงขึ้น Wal – Mart เองยังมีนโยบายในการยอมรับอัตรากำไรเพียง 50 % ของอัตรากำไรของคู่แข่ง ในการกำหนดราคาขายจากต้นทุนยิ่งทำให้ราคาขายของ Wal – Mart ต่ำกว่าคู่แข่งจนเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าหันมาซื้อสินค้าของ Wal – Mart มากขึ้น ด้วยกลยุทธ์ Every Day Low Price ที่ขายถูกทุกวัน ลูกค้าไม่ต้องรอซื้อสินค้าช่วยลดราคา
ไม่เพียงแต่การต่อรองเรื่องราคาที่ให้ได้ต้นทุนต่ำที่สุดเพียงอย่างเดียว Wal – Mart ยังพยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ผลิตในรูปของแนวคิดหุ้นส่วนทางธุรกิจ ( Partnership) มากกว่าคู่ค้า ด้วยการร่วมมือกับบริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ( P&G) ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลลูกค้าแต่ละสาขา แต่ละผลิตภัณฑ์ ในช่วงเวลาต่างๆ การเปิดให้ผู้ผลิตสามารถเข้าไปดูข้อมูลสินค้าคงคลังในระบบฐานข้อมูลของบริษัท เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การขนส่ง ตลอดจนการพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ทำให้ช่วยลดต้นทุนการดำเนินการของทั้งสองฝ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จนเป็นแนวทางที่ผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกอีกหลายๆรายนำมาใช้เป็นต้นแบบ ( ซึ่งปัจจุบันระบบดังกล่าวเป็นรากฐาน ของระบบ ECR ( Efficient Consumer Response ) ที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในวงการค้าปลีกทั่วโลก โดยในเมืองไทยเริ่มมีการนำมาทดลองใช้ในบางกลุ่มสินค้าในธุรกิจค้าปลีกบางแห่ง เช่น Tops, Big-C ,Lotus ,P&G ,Coke และยูนิลิเวอร์ เป็นต้น )

5. การส่งเสริมการขาย

Wal – Martในระยะเริ่มต้นเป็นผู้บุกเบิกในด้านการจัดรายการส่งเสริมการขายแบบเทกองที่ยิ่งใหญ่ เช่น เคยจัด display ผงซักฟอกโดยเรียงสูงจากพื้นถึงเพดานเป็นแนวยาวตลอดห้าง ซึ่งถูกบันทึกว่าเป็น display ผงซักฟอกที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยการ display ครั้งนั้น Wal – Mart ทำการลดราคาผงซักฟอกจากราคาปกติ 3.97 เหรียญต่อกล่องเหลือ 1.97 เหรียญซึ่งเป็นการจัดรายการส่งเสริมการขายที่แรงมาก ได้รับการกล่าวถึงแบบปากต่อปากในกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งยิ่งทำให้ Wal – Martเป็นที่รู้จักและยอมรับในด้านร้านที่ขายสินค้าคุณภาพดีราคาถูก
นอกจากนี้ Wal – Martยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสาขา โดยกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือสินค้าที่เลือกมาจัดรายการที่ประสบความสำเร็จในสาขาหนึ่ง ข้อมูลจะถูกส่งไปยังสาขาที่มีทำเลและกลุ่มลูกค้าคล้ายคลึงกัน ผ่านการวิเคราะห์ของคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานใหญ่ เพื่อใช้เป็นข้อแนะนำหรือตัวอย่างสำหรับผู้จัดการสาขาอื่นๆในการนำไปใช้ในสาขาของตนเพื่อลดข้อผิดพลาดในการจัดรายการส่งเสริมการขาย

6.การบริหารบุคลากร

แซม วอลตัน เจ้าของ Wal – Mart เชื่อในปรัชญาที่ว่าพนักงานมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จทางธุรกิจ โดยเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในบริษัทด้วยการให้หุ้นบริษัทแก่พนักงานทุกระดับ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีการแบ่งปันกำไรไปให้พนักงานทุกระดับและให้ผู้บริหารเรียกพนักงานว่า “ เพื่อนร่วมงาน “ แทนที่จะเรียกว่า “ ลูกจ้าง “
Wal – Martพยายามกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานด้วยการเปิดโอกาสให้เสนอแนวคิดใหม่ๆในการประชุมของบริษัท และมีรางวัลให้สำหรับแนวคิดที่มีผลในทางปฏิบัติ เช่น เมื่อพนักงานแนะนำวิธีป้องกันการขโมยของในร้านและร้านนำไปใช้ มีผลทำให้ในระหว่างปี 1977 – 1982 ยอดสินค้าสูญหายของร้านลดลงจาก 2.2%เป็น 1.3 % ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของธุรกิจค้าปลีกที่อยู่ที่ 2% และในปี 1985 ยอดสินค้าสูญหายของบริษัทลดเหลือเพียง 1.06% ทำให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปได้มาก จำนวนเงินที่ประหยัดได้นี้จะถูกนำมาปันส่วนเป็นโบนัสให้แก่พนักงานในร้าน เพื่อเพิ่มกำลังใจในการทำงาน
นอกจากนี้แซมเองยังให้ความเป็นกันเองกับพนักงานทุกระดับ เมื่อมีเวลาเขามักซื้อโดนัทใส่กล่อง เดินเข้าไปในคลังสินค้าพร้อมนั่งล้อมวงกินกาแฟและโดนัทกับคนขับรถส่งของของบริษัท โดยแซมบอกว่าพนักงานขับรถเหล่านี้ได้มีโอกาสเข้าไปยังสาขาต่างๆของบริษัทที่กระจายอยู่ตามเมืองต่างๆ มีโอกาสสัมผัสลูกค้าและพนักงานในแต่ละสาขาอย่างใกล้ชิด การเข้าไปพูดคุยด้วยทำให้เขาได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทเป็นอย่างมาก
จะเห็นได้ว่า Wal – Martเป็นธุรกิจค้าปลีกที่มีตำนานความสำเร็จที่น่าสนใจ โดยความสำเร็จที่ได้มาเกิดจากส่วนประสมที่ลงตัวระหว่าง คน เทคโนโลยี และกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพ
สำหรับในเมืองไทยเองซึ่งธุรกิจค้าปลีกประเภท Supercenter ของค่ายยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศล้วนเข้ามาประลองฝีมือกันหลายเจ้าแล้ว ก็ยังเป็นประเด็นสนทนาในวงการค้าปลีกอยู่ว่าจะมีโอกาสที่ Wal – Martจะเข้ามาในตลาดเมืองไทยไหม ซึ่งหลายท่านก็วิเคราะห์ว่าคงยากเพราะตลาดค้าปลีกในบ้านเราการแข่งขันรุนแรง และยักษ์ใหญ่เจ้าอื่นๆของต่างชาติค่อนข้างมีฐานมั่นคงแล้ว Wal – Martเข้ามาช้าตอนนี้จะเสียเปรียบ สู้ไปลงทุนในประเทศอื่นๆในเอเชีย ที่การแข่งขันยังไม่เข้มข้นอย่างในเมืองไทยน่าจะดีกว่า แต่ก็ไม่แน่นะครับ โลกธุรกิจไม่มีอะไรแน่นอนแต่ผมเชื่อว่าถ้าวันไหน Wal – Martเข้ามาเปิดสาขาในไทย คงเป็นวันที่วงการค้าปลีกบ้านเรามีอะไรสนุกๆให้เห็นอย่างแน่นอน.

นางสวาวิชุดา ศิริ  บ.กจ.3/2
ที่มา : http://www.marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=672

สรุปท้ายบทที่ 4

ความหมายของฐานข้อมูลและระบบการจัดการฐานข้อมูล
“ ฐานข้อมูล ” (database) หมายถึง การจัดรวบรวมข้อนิเทศหรือข้อมูลของเรื่องต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่จะเรียกมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ ในการเรียกนั้น อาจเรียกเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งมาใช้ประโยชน์เป็นครั้งเป็นคราวก็ได้ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะได้รับการปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ (ทักษิณา สวนานนท์, 2544, หน้า 154-155)
นอกจากนี้ กิตติ ภักดีวัฒนะกุล (2547, หน้า 226) ยังได้สรุปความหมายของฐานข้อมูล ว่าคือ กลุ่มของแฟ้มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมารวมกัน เช่น ฐานข้อมูลในบริษัทแห่งหนึ่งอาจประกอบไปด้วยแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มข้อมูล ซึ่งแต่ละแฟ้มต่างก็มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ แฟ้มข้อมูลพนักงาน แฟ้มข้อมูลแผนกในบริษัท แฟ้มข้อมูลขายสินค้า และแฟ้มข้อมูลสินค้า เป็นต้น
สรุปได้ว่า “ฐานข้อมูล” คือ การรวบรวมข้อมูลที่เราต้องการจะจัดเก็บ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กันหรือเป็นเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน เพื่อสะดวกในใช้งาน
“ระบบการจัดการฐานข้อมูล” (Data Base Management System: DBMS) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อจะได้นำไปเก็บรักษา เรียกใช้หรือนำมาปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญด้วย (ทักษิณา สวนานนท์ , 2544, หน้า 155)
นอกจากนี้ โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์ (2546, หน้า 29) ยังได้สรุปความหมายของระบบการจัดการฐานข้อมูล ว่าคือ โปรแกรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยหน้าที่ต่างๆ ในการจัดการกับข้อมูล รวมทั้งภาษาที่ใช้ทำงานกับข้อมูล โดยมักจะใช้ภาษา SQL ในการโต้ตอบระหว่างกันกับผู้ใช้ เพื่อให้สามารถกำหนดการสร้าง การเรียกดู การบำรุงรักษาฐานข้อมูล รวมทั้งการจัดการควบคุมการเข้าถึงฐานข้อมูล ซึ่งถือเป็นการป้องกันความปลอดภัยในฐานข้อมูล เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิการใช้งานเข้ามาละเมิดข้อมูลในฐานข้อมูลที่เป็นศูนย์กลางได้ นอกจากนี้ DBMS ยังมีหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูล การสำรองข้อมูล และการเรียกคืนข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลเกิดความเสียหาย
สรุปได้ว่า “ระบบการจัดการฐานข้อมูล” คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล อำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียวหรือให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล และการแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวกและมีประสิทธิภาพ เสมือนเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลให้สามารถติดต่อกันได้

2. ประวัติความเป็นมาของระบบการจัดการฐานข้อมูล
การจัดการฐานข้อมูลเริ่มต้นจากการที่องค์การบริหารการบินและอวกาศสหรัฐอเมริกา หรือนาซาได้ว่าจ้างบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ออกแบบระบบเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจดวงจันทร์ในโครงการอะพอลโล (โครงการอะพอลโลเป็นโครงการสำรวจอวกาศอย่างจริงจัง และมีการส่งมนุษย์ขึ้นบนดวงจันทร์ได้สำเร็จด้วยยานอะพอลโล 11) ได้พัฒนาระบบการดูแลข้อมูลเรียกว่า ระบบ GUAM ( Generalized Upgrade Access Method) ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของระบบการจัดการฐานข้อมูล
ต่อมาบริษัท ไอบีเอ็ม ได้พัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลขึ้นมาใหม่เพื่อให้ใช้งานกับธุรกิจทั่วๆ ไปได้ เรียกว่า DL/I (Data Language/I ) จนในที่สุดก็ได้กลายมาเป็นระบบ IMS ( Information Management System)
ในช่วงปี พ.ศ. 2525 มีการนำระบบฐานข้อมูลเข้ามาใช้กับคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่  ได้มีการคิดค้นและผลิตซอฟต์แวร์เกี่ยวกับฐานข้อมูลออกมามากมาย การเจริญเติบโตของการจัดการฐานข้อมูลรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับระบบคอมพิวเตอร์และมีการพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบันได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไปโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเขียนโปรแกรมเอง เพียงแต่เรียนรู้คำสั่งการเรียกใช้ข้อมูลหรือการจัดการข้อมูล เช่น การป้อนข้อมูล การบันทึกข้อมูล การแก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อมูล เป็นต้น
ในอดีตยุคที่มีไมโครคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นแรกๆ โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านการจัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ Personal Filling System) ต่อมาได้มีโปรแกรมฐานข้อมูลเพิ่มขึ้นหลายโปรแกรม เช่น Datastar DB Master และ dBASE II เป็นต้นโดยเฉพาะโปรแกรม dBASE II ได้รับความนิยมมาก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ผู้ผลิตได้สร้าง dBASE III Plus ออกมาซึ่งสามารถจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์ (relational) เชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน ค้นหา และนำมาสร้างเป็นรายงานตามความต้องการได้สะดวก รวดเร็ว ต่อมาได้มีการสร้าง โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับฐานข้อมูลออกมา เช่น FoxBASE, FoxPro, Microsoft Access และ Oracle เป็นต้น

3. องค์ประกอบของระบบการจัดการฐานข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูลประกอบด้วยส่วนสำคัญหลักๆ 5 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล กระบวนการทำงาน  และบุคลากร ดังรายละเอียดต่อไปนี้
3.1 ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูล ซึ่งอาจประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่หนึ่งเครื่องขึ้นไป หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง หน่วยนำเข้าข้อมูล และหน่วยแสดงผลข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมีอุปกรณ์การสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เป็นต้น โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลนั้น สามารถเป็นได้ตั้งแต่เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าเป็นเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์หรือมินิคอมพิวเตอร์ จะสามารถใช้ต่อกับเทอร์มินัลหลายเครื่อง เพื่อให้ผู้ใช้งานฐานข้อมูลหลายคน สามารถดึงข้อมูลหรือปรับปรุงข้อมูลภายในฐานข้อมูลเดียวกันพร้อมกันได้ ซึ่งเป็นลักษณะของการทำงานแบบมัลติยูสเซอร์ (multi user)
ส่วนการประมวลผลฐานข้อมูลในเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ สามารถทำการประมวลผลได้ 2 แบบ แบบแรกเป็นการประมวลผลฐานข้อมูลในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว โดยมีผู้ใช้งานได้เพียงคนเดียวเท่านั้น (single user) ที่สามารถดึงข้อมูลหรือปรับปรุงข้อมูลภายในฐานข้อมูลได้ สำหรับแบบที่สองจะเป็นการนำไมโครคอมพิวเตอร์หลายตัวมาเชื่อมต่อกันในลักษณะของเครือข่ายระยะใกล้ (Local Area Network : LAN) ซึ่งเป็นรูปแบบของระบบเครือข่ายแบบลูกข่าย / แม่ข่าย (client / server network) โดยจะมีการเก็บฐานข้อมูลอยู่ที่เครื่องแม่ข่าย (server) การประมวลผลต่างๆ จะกระทำที่เครื่องแม่ข่าย สำหรับเครื่องลูกข่าย (client) จะมีหน้าที่ดึงข้อมูลหรือส่งข้อมูลเข้ามาปรับปรุงในเครื่องแม่ข่าย หรือคอยรับผลลัพธ์จากการประมวลผลของเครื่องแม่ข่าย ดังนั้นการประมวลผลแบบนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานหลายคนสามารถใช้งานฐานข้อมูลร่วมกันได้
ระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพดีต้องอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง คือสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายคน ที่อาจมีการอ่านข้อมูลหรือปรับปรุงข้อมูลพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้

3.2 ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในระบบการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งมีการพัฒนาเพื่อใช้งานได้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จนถึงเครื่องเมนเฟรม ซึ่งโปรแกรมแต่ละตัวจะมีคุณสมบัติการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นในการพิจารณาเลือกใช้โปรแกรม จะต้องพิจารณาจากคุณสมบัติของโปรแกรมแต่ละตัวว่ามีความสามารถทำงานในสิ่งที่เราต้องการได้หรือไม่ อีกทั้งเรื่องราคาก็เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากราคาของโปรแกรมแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน โปรแกรมที่มีความสามารถสูงก็จะมีราคาแพงมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาว่าสามารถใช้ร่วมกับฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่เรามีอยู่ได้หรือไม่ ซึ่งโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Oracle, Informix, dBase, FoxPro, และ Paradox เป็นต้น โดยโปรแกรมที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกหัดสร้างฐานข้อมูล คือ Microsoft Access เนื่องจากเป็นโปรแกรมใน Microsoft Office ตัวหนึ่ง ซึ่งจะมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว และการใช้งานก็ไม่ยากจนเกินไป แต่ผู้ใช้งานต้องมีพื้นฐานในการออกแบบฐานข้อมูลมาก่อน
3.3 ข้อมูล (data) ระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ดีและมีประสิทธิภาพ ควรประกอบด้วยข้อมูลที่มีคุณสมบัติขั้นพื้นฐานดังนี้
3.3.1 มีความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก ผู้ใช้จะไม่กล้าอ้างอิงหรือนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบระบบการจัดการฐานข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้ด้วย
3.3.2 มีความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ มีการออกแบบระบบการเรียกค้น และแสดงผลได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
3.3.3 มีความสมบูรณ์ของข้อมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการปฎิบัติด้วย ในการดำเนินการจัดทำข้อมูลต้องสำรวจและสอบถามความต้องการข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์และเหมาะสม
3.3.4 มีความชัดเจนและกะทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมาก จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รหัสหรือย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
3.3.5 มีความสอดคล้องกับความต้องการ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์กร ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ
3.4 กระบวนการทำงาน (procedures) หมายถึง ขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เช่น คู่มือการใช้งานระบบการจัดการฐานข้อมูล ตั้งแต่การเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน การนำเข้าข้อมูล การแก้ไขปรับปรุงข้อมูล การค้นหาข้อมูล และการแสดงผลการค้นหา เป็นต้น
3.5 บุคลากร (people) จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับระบบอยู่ตลอดเวลา ซึ่งบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูล มีดังต่อไปนี้
3.5.1 ผู้บริหารข้อมูล (data administrators) ทำหน้าที่ในการกำหนดความต้องการในการใช้ข้อมูลข่าวสารขององค์กร การประมาณขนาดและอัตราการขยายตัวของข้อมูลในองค์กร ตลอดจนทำการจัดการดูแลพจนานุกรมข้อมูล เป็นต้น
3.5.2 ผู้บริหารฐานข้อมูล (database administrators) ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ ควบคุม กำหนดนโยบาย มาตรการ และมาตรฐานของระบบฐานข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร ตัวอย่างเช่น กำหนดรายละเอียดและวิธีการจัดเก็บข้อมูล กำหนดควบคุมการใช้งานฐานข้อมูล กำหนดระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล กำหนดระบบสำรองข้อมูล และกำหนดระบบการกู้คืนข้อมูล เป็นต้น ตลอดจนทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ใช้ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เพื่อให้การบริหารระบบฐานข้อมูลสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.5.3 นักวิเคราะห์ระบบ (systems analysts) มีหน้าที่ศึกษาและทำความเข้าใจในระบบงานขององค์กร ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบงานเดิม และความต้องการของระบบใหม่ที่จะทำการพัฒนาขึ้นมา รวมทั้งต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการทำงานโดยรวมของทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อีกด้วย
3.5.4 นักออกแบบฐานข้อมูล (database designers) ทำหน้าที่นำผลการวิเคราะห์ ซึ่งได้แก่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานในปัจจุบัน และความต้องการที่อยากจะให้มีในระบบใหม่ มาออกแบบฐานข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
3.5.5 นักเขียนโปรแกรม (programmers) มีหน้าที่รับผิดชอบในการเขียนโปรแกรมประยุกต์เพื่อการใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น การเก็บบันทึกข้อมูล และการเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล เป็นต้น
3.5.6 ผู้ใช้ (end-users) เป็นบุคคลที่ใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของระบบฐานข้อมูล คือ ตอบสนองความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้ ดังนั้นในการออกแบบระบบฐานข้อมูลจึงจำเป็นต้องมีผู้ใช้เข้าร่วมอยู่ในกลุ่มบุคลากรที่ทำหน้าที่ออกแบบฐานข้อมูลด้วย
4.หน้าที่ของระบบการจัดการฐานข้อมูล
ระบบการจัดการฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญๆ หลายอย่าง เพื่อให้เกิดความถูกต้องและสอดคล้องกันของข้อมูลภายในฐานข้อมูล ได้แก่
4.1 การจัดการพจนานุกรมข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำการจัดเก็บนิยามของข้อมูล และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล เป็นสารนิเทศที่บอกเกี่ยวกับโครงสร้างของฐานข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ทั้งหมดที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลจะต้องทำงานผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล โดยที่ระบบจัดการฐานข้อมูลจะใช้พจนานุกรมข้อมูล เพื่อค้นหาโครงสร้างตลอดจนส่วนประกอบของข้อมูลและความสัมพันธ์ที่ต้องการ นอกจากนั้นแล้วการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่มีต่อโครงสร้างฐานข้อมูลจะถูกบันทึกไว้โดยอัตโนมัติในพจนานุกรมข้อมูล ทำให้เราไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมเมื่อโครงสร้างข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง
4.2 การจัดเก็บข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะสร้างโครงสร้างที่จำเป็นต่อการจัดเก็บข้อมูล ช่วยลดความยุ่งยากในการนิยามและการเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางกายภาพของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลในปัจจุบันไม่เพียงแต่จะช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดเก็บกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบบูรณภาพของข้อมูลอีกด้วย
4.3 การแปลงและนำเสนอข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลที่ได้รับเข้ามา เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างในการจัดเก็บข้อมูล ทำให้เราไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างรูปแบบของข้อมูลทางตรรกะและทางกายภาพ กล่าวคือทำให้มีความเป็นอิสระของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะแปลงความต้องการเชิงตรรกะของผู้ใช้ ให้เป็นคำสั่งที่สามารถดึงข้อมูลทางกายภาพที่ต้องการ
4.4 การจัดการระบบความปลอดภัยของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะสร้างระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าใช้ระบบ และความสามารถในการใช้ระบบ เช่น การอ่าน เพิ่ม ลบ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล การจัดการระบบความปลอดภัยของข้อมูลมีความสำคัญมากในระบบฐานข้อมูลแบบที่มีผู้ใช้หลายคน
4.5 การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้หลายคน ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะใช้หลักการออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลพร้อมกันได้ และข้อมูลมีความถูกต้อง
4.6 การเก็บสำรองและกู้คืนข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะมีโปรแกรมเพื่อสนับสนุนการสำรองและกู้คืนข้อมูล เพื่อให้แน่ใจด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของข้อมูลในระบบ ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะกู้ข้อมูลในฐานข้อมูลคืนมาหลังจากระบบเกิดความล้มเหลว เช่น เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้อง เป็นต้น
4.7 การควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะสนับสนุนและควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ตั้งแต่ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ไปจนถึงความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เก็บไว้ในพจนานุกรมข้อมูลจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมความถูกต้องของข้อมูลด้วย
4.8 ภาษาที่ใช้ในการเข้าถึงฐานข้อมูลและการเชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์ ระบบการจัดการฐานข้อมูลสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านภาษาคิวรี (query language) ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการค้นคืนข้อมูลจากฐานข้อมูล โดยผู้ใช้เพียงบอกว่าต้องการอะไร และไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีขั้นตอนอย่างไรในการนำข้อมูลออกมา เพราะระบบการจัดการฐานข้อมูลจะเป็นผู้กำหนดวิธีการในการเข้าถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเอง
4.9 การติดต่อสื่อสารกับฐานข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ทันสมัยจะต้องสนับสนุนการใช้งานฐานข้อมูลผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
5. ข้อดีของการใช้ฐานข้อมูล
เมื่อมีการนำระบบการจัดการฐานข้อมูลมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูล แก้ไขปรับปรุงข้อมูล ค้นหาข้อมูล รวมทั้งกำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูล เป็นต้น ทำให้ฐานข้อมูลมีข้อดีมากมาย ได้แก่
5.1 ลดความจำเจของงานดูแลเอกสาร ซึ่งเป็นงานประจำที่ทำให้ผู้ดูแลรู้สึกเบื่อหน่าย และขาดแรงจูงใจ แต่เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานนี้แทนมนุษย์ได้ โดยผ่านโปรแกรมสำหรับการจัดการฐานข้อมูล
5.2 ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลที่มีความทันสมัย ตรงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และตรงกับความต้องการอยู่เสมอ
5.3 ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล เนื่องจากการจัดทำฐานข้อมูลจะมีการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆ เข้ามาจัดเก็บไว้ในระบบและเก็บข้อมูลเพียงชุดเดียว ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้  เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และทำให้เกิดความรวดเร็วในการค้นหาและจัดเก็บข้อมูลด้วย
5.4 หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้ เมื่อข้อมูลถูกจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล จะทำให้ข้อมูลลดความซ้ำซ้อนลง คือ มีข้อมูลแต่ละประเภทเพียงหนึ่งชุดในระบบ ทำให้ข้อมูลที่เก็บได้ไม่ขัดแย้งกันเอง ในกรณีที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อสาเหตุบางประการ เช่น เพื่อความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูลจะเป็นผู้ดูแลข้อมูลที่ซ้ำกันให้มีความถูกต้องตรงกัน
5.5 ใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากระบบการจัดการฐานข้อมูลสามารถจัดให้ผู้ใช้แต่ละคนเข้าใช้ข้อมูลในแฟ้มที่มีข้อมูลเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ฝ่ายบุคคลและฝ่ายการเงิน สามารถที่จะใช้ข้อมูลจากแฟ้มประวัติพนักงานในระบบฐานข้อมูลได้พร้อมกัน
5.6 ควบคุมมาตรฐานของข้อมูลได้ เมื่อข้อมูลต่างๆ ในหน่วยงานถูกรวบรวมเข้ามา ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถที่จะวางมาตรฐานในการรับข้อมูล แสดงผลข้อมูล ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้ เช่น การกำหนดรูปแบบของตัวเลขให้มีทศนิยม 2 ตำแหน่งสำหรับค่าที่เป็นตัวเงิน การกำหนดรูปแบบของการรับ และแสดงผลสำหรับข้อมูลที่เป็นวันที่ นอกจากนี้การที่ข้อมูลมีมาตรฐานเดียวกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบได้อย่างสะดวก
5.7 จัดทำระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานข้อมูลของผู้ใช้แต่ละราย โดยระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำการตรวจสอบสิทธิ์ในการทำงานกับข้อมูลทุกครั้ง เช่น การตรวจสอบสิทธิ์ในการเรียกดูข้อมูล   การลบข้อมูล  การปรับปรุงข้อมูล   และการเพิ่มข้อมูลในแต่ละแฟ้มข้อมูล
5.8 ควบคุมความถูกต้องของข้อมูลได้   ปัญหาเรื่องความขัดแย้งกันของข้อมูลที่มีความซับซ้อน เป็นปัญหาหนึ่งในเรื่องความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งเมื่อได้มีการกำจัดความซับซ้อนของข้อมูลออก ปัญหาเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น อายุโดยปกติของคนงาน ควรอยู่ระหว่าง 18 – 60 ปี ถ้าหากในระบบฐานข้อมูล ปรากฏมีพนักงานที่มีอายุ 150 ปีซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติที่หน่วยงานจะมีการว่าจ้างคนงานที่มีอายุเกิน 60 ปี และอายุของคนในปัจจุบันไม่ควรเกิน 100 ปี ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการนำเข้าข้อมูล และระบบจัดการฐานข้อมูลจะคอยควบคุมให้มีการนำเข้าข้อมูล เป็นไปตามกฎเกณฑ์ให้มีความถูกต้อง

6. ข้อเสียของการใช้ฐานข้อมูล
แม้ว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบการจัดการจัดการฐานข้อมูล จะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็จะมีข้อเสียอยู่บ้างดังต่อไปนี้
6.1 เสียค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากราคาของโปรแกรมที่ใช้ในระบบการจัดการฐานข้อมูลจะมีราคาค่อนข้างแพง รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง คือ ต้องมีความเร็วสูง มีขนาดหน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมาก ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดทำระบบการจัดการฐานข้อมูล
6.2 เกิดการสูญเสียข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในที่เดียวกัน ดังนั้นถ้าที่เก็บข้อมูลเกิดมีปัญหา อาจทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลได้ ดังนั้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ดีจึงต้องมีการสำรองข้อมูลไว้เสมอ
ที่มา

นางสาววิชุดา ศิริ บ.กจ.3/2

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

1.
       1. นักศึกษาใช้แนวคิดเชิงระบบในการแก้ไขปัญหา เช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหาด้านการตลาด    ทางด้าน การเงิน ทางด้านทรัพยากรมนุษย์หรือไม่ จงอธิบาย
   ตอบ ใช้ เพราะแนวคิดเชิงระบบในการใช้แก้ปัญหานั้น เป็นแนวคิดที่สามารถนำไปแก้ปัญหาได้ทุกทางของปัญหา และเป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการจัดลำดับความคิดมากขึ้น
  2. ทำไมนักศึกษาจึงคิดว่า การจัดทำต้นแบบ( Prototypiag) จึงกลายมาเป็นที่นิยมในการพัฒนาระบบใหม่ทางธุรกิจที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นพื้นฐาน
    ตอบ เป็นการพัฒนาการที่รวดเร็วและเป็นการทดสอบการทำงานของแบบจำลองหรือต้นแบบของระบบงานใหม่ ในการโต้ตอบและกระบวนการทำซ้ำประโยคคำสั่งในโปรแกรม เรียก การรวนรอ  
3. ให้นักศึกษาอธิบายว่า ปัจจุบันมีการนำการจัดทำต้นแบบเข้ามาแทนที่ หรือมาเสริมการพัฒนาระบบสารสนเทศ
ตอบ การสร้างต้นแบบสามารถใช้ได้ทั้งกับระบบงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ระบบงานขนาดใหญ่มีความต้องการในการใช้การพัฒนาจากระบบแบบเดิม ต้นแบบของระบบงานด้านธุรกิจที่เกิดความต้องการจากผู้ใช้
นั้นจะช่วยให้การพัฒนาดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และสามารถทำซ้ำหรือปรับแต่งในส่วนของรายละเอียดจนผู้ใช้ให้การยอมรับ การทำต้นแบบขึ้นอยู่กับกระบวนการพัฒนาระบบสำหรับการใช้งานด้านธุรกิจ
  4. ตอบ


หลักเกณฑ์
น้ำหนัก
ทางเลือกที่ 1
คะแนน
ทางเลือกที่ 2
คะแนน
ค่าใช้จ่ายเริ่มต้น
20
1,000,000 บาท
12
200,000 บาท
20
ค่าใช้จ่ายในการเดินเนินงาน
30
100,000 บาท
25
300,000 บาท
18
สะดวกต่อการใช้งาน
20
ดี
16
พอใช้
12
ความถูกต้อง
20
ดีเยี่ยม
20
พอใช้
8
ความน่าเชื่อถือ
10
ดีเยี่ยม
10
ดีเยี่ยม
10
รวม
100
83
68


         เลือกทางเลือกที่ 1 เพราะว่าง่ายต่อการใช้งานดี มีความถูกต้องดีเยี่ยม และความถูกต้องดีเยี่ยม ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีถึงค่าใช้จ่ายเริ่มต้นจะสูงก็ตามแต่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อปีน้อยกว่าทางเลือกที่ 2


. มีซอฟต์แวร์ประยุกต์อะไรบ้าง ที่ผู้ใช้สามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต และอินทราเน็ต เว็ปไซท์
ตอบ   ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิ

6.  การนำเอาซอฟต์แวร์ Case Tools มาช่วยสนับสนุนขั้นตอนของวงจรการพัฒนานั้นแต่ก็มีไม่มากนักที่ประสบความสำเร็จในท้องตลาดทั่วไป และในลักษณะเช่นเดียวกันการนำเอา CASE Tools  ไปช่วยนักพัฒนาในส่วนของการจัดต้นแบบ และกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ในระดับบุคล นักศึกษาคิดว่า เป็นเพราะเหตุใด ที่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น
   ตอบ    เพราะการใช้ I-CASE สามารถใช้ช่วยการพัฒนาระบบทุกส่วนของเคสทูล ช่วยสนับสนุน JAD ซึ่งกลุ่มของนักวิเคราะห์ระบบโปรแกรมเมอร์และผู้ใช้ สามารถใช้งานร่วมกันใยการออกแบบระบบงานใหม่ได้อย่างดี