วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปหน่วยเรียนที่ 2

เหมือนพนักงานส่วนมากที่ยังใหม่ต่อบริษัท ดังนั้นเมื่อ แอนดรู เจเวล ผู้จัดการการจัดการโครงแบบในกลุ่มที่ปรึกษาอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภค ต้องศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของหน่วยงาน เขาจึง Log Onเข้าสู่ศูนย์ความรู้ของ AMS ซึ่งมีหัวข้อ ‘ การให้คำแนะนำการปฏิบัติงานที่ดี’ (The Consulting Firm’s Best Practices) บนอินทราเน็ต
ที่นั่น เจเวล ได้พิจารณาเอกสารเครื่องมือปรับรื้อกระบวนการ (Reengineering) ทางธุรกิจ แต่ยังคงไม่พบสารสนเทศที่ต้องการ เขาจึงคลิกที่สารบัญผู้เชี่ยวชาญประจำด้านปรับรื้อกระบวนการของ AMS ซึ่งหนึ่งในนั้นมีรองประธานบริษัทได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของเขาไว้ด้วย
เจเวล กล่าวว่า ศูนย์ความรู้เป็นจุดติดต่อที่สามารถตรวจสอบทรัพยากรทั้งหมดขององค์กร ถ้าไม่มีศูนย์นี้เขาคงวนอยู่ในกงล้อ
แนวคิดดังกล่าวเป็นการรวบรวมความรู้ของธุรกิจมาไว้ที่ปลายนิ้วของพนักงาน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นของระบบการจัดการองค์ความรู้ เป้าหมายพื้นฐานคือการนำข้อมูลที่เป็นกุญแจจากแหล่งต่างๆ เช่น กรุ๊ปแวร์(Groupware) ฐานข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ และความรู้สึกของผู้ใช้ เป็นต้น มาจัดเรียงให้อยู่ในรูปแบบเชิงตรรกะ เพื่อนำเสนอแหล่งความรู้สำหรับผู้ใช้ในองค์กร
การนำข้อเท็จจริงและประสบการณ์มารวมเข้าด้วยกันเพื่อแบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่น จะกระทำได้ยากในหลายธุรกิจ จากการสำรวจผู้บริหาร 400 คนในปีที่ผ่านมาโดยศูนย์นวัตกรรมธุรกิจของ Ernst&Young พบว่าส่วนใหญ่มุ่งเน้นความรู้ แต่ 87 % ยังอยู่ในระดับเฉลี่ยหรือต่ำกว่าในเรื่องการถ่ายโอนความรู้ “ มันยากที่จะรู้ได้ว่าความรู้อะไรที่ควรจะจัดเก็บ” ซูซาน แฮนลี ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้และอาจารย์ใหญ่อาวุโสของAMS กล่าว
AMS มีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญอยู่มาก จึงสร้างคณะทำงานศูนย์ความรู้เพื่อกระตุ้นให้ที่ปรึกษาเพิ่มในหัวข้อ การให้คำแนะนำการปฏิบัติงานที่ดี’ อย่างน้อยหนึ่งโครงการต่อปี โดยที่ปรึกษาอาวุโสจะเป็นผู้ตรวจเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งของเอกสารเหล่านั้น และใช้ฐานข้อมูล Lotus Notes ทำดัชนี ให้เข้าถึงด้วยโปรแกรมต่อประสานของ Notes เพื่อค้นหาฐานข้อมูลผ่านแม่ข่ายเว็บ Lotus Domino
แฮนล ี กล่าวว่า ในปี 1993 AMS ได้เริ่มเพียงหนึ่งโปรแกรมเท่านั้น และขยายออกไปเป็น ในปี 1995และในปี 1996 คณะทำงาน 250 ชุดได้ทำโครงการวิจัยเป็นที่เรียบร้อย ทำให้ยอดพุ่งขึ้นไปสูงถึง 450 ในปี1997 ด้วยจำนวนที่ปรึกษานับพันจากสำนักงาน 50 แห่งทั่วโลก ความรู้ใหม่ๆ จึงได้ถูกสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ระบบการจัดการองค์ความรู้นี้ให้ผลคุ้มค่าหรือไม่ ซูซาน แฮนลี่ กล่าวว่าการแบ่งปันความรู้เรื่อง‘ การให้คำแนะนำการปฏิบัติงานที่ดี’ นี้ได้ให้ผลคุ้มค่า อย่างเช่น AMS ได้เซ็นสัญญากับลูกค้าใหม่หลังจากการนำเสนอ 15 ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงจากศูนย์ความรู้
ที่มา
ที่มา http://www.spu.ac.th/~ktm/index12.html


นางสาววิชุดา ศิริ บ.กจ.3/2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น