วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปท้ายบทที่ 3

  • บริษัท : คามิลอทมิวสิค ตั้งอยู่ที่นอร์ธแคนตัน รัฐโอไฮโอ ทำกิจการค้าปลีกซีดีรอมและเทปในห้างสรรพสินค้า มีลูกจ้าง 5,000 คนใน 310 สาขาทั่วสหรัฐ
  • ปัญหา : มีการแข่งขันกับร้านค้าปลีกที่ใหญ่กว่า อาทิเช่น Best Buy และ Circuit City ในขณะเดียวกันก็ยังต้องแข่งขันกับร้านค้าขนาดเล็กด้วย จึงใช้เกณฑ์การตั้งราคาขึ้นอยู่กับแต่ละร้านค้าหรือสถานการณ์ในการแข่งขัน และลดราคาให้แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการบ่อยๆ
  • แนวทางในการแก้ปัญหา : ใช้ซอฟต์แวร์ในการตั้งราคาให้หลากหลาย เพื่อดึงดูดและเก็บรักษาลูกค้าไว้
  • โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ : Richter System ทำงานบน Hewlett-Packard 9000 Server Camelot’s Data Warehouse ทำงานบน ICL Gold Rush Mega Server ใช้ฐานข้อมูล Informix และซอฟต์แวร์ Micro Strategies DSS
  • ค่าใช้จ่ายของการใช้เทคโนโลยี : ระหว่าง 750,000 - 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหานี้
  • สิ่งที่จะได้รับกลับคืน : (Return of Investment : RO I) เพื่อเพิ่มยอดขายอย่างน้อย 1 ใน 10 ของ 1 % ซึ่งจะทำให้เกิดการสะสมของรายได้ อันจะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนจากการลงทุนในอีก 2 ปีข้างหน้า
ชาลี มาช CIO ของบริษัทต้องเผชิญกับปัญหายอดขายตกในแต่ละสาขา และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการค้าปลีกขนาดใหญ่และในห้างสรรพสินค้า มาชได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการตั้งราคาโดยขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้ง ร้านค้า สถานการณ์ในการแข่งขัน และให้ส่วนลดแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการบ่อย ซึ่งกุญแจของความสำเร็จ คือ โครงสร้างการตั้งราคาขายไม่ตายตัว ที่ใช้ซอฟต์แวร์ Richter Automated Merchandising Systems (RAMS)
ในอดีต ผู้บริหารของบริษัทไม่ได้กังวลถึงคู่แข่งอย่าง Best Buy และ Circuit City และร้านค้าอื่นๆ มากนัก เนื่องจากร้านเหล่านั้นขายสินค้าน้อยกว่า แต่ 3 ปีที่ผ่านมาเกมส์ทางธุรกิจได้เปลี่ยนไป Best Buy ตั้งราคาขายถูกกว่า 2-5 เหรียญ อันทำให้ยอดขายของบริษัทลดลง เมื่อสนามแข่งขันทางการค้าได้เปลี่ยนไป บริษัทจึงปรับปรุงตัวเองและกำหนดราคาขายที่ดีกว่าคู่แข่งเพื่อให้สามารถอยู่ได้ในเกมส์นี้ แต่ปัญหาคือ เกณฑ์การตั้งราคาแบบใดจึงจะเหมาะสมกับการแข่งขัน ในขณะที่สาขาบางแห่งก็ไม่ได้แข่งขันกับใครเลย
บริษัทได้ติดตั้ง RAMS ทำงานบน HP 9000 Enterprise Server ดำเนินงานด้านระบบการตลาดสำหรับลูกค้าบนซอฟต์แวร์คลังข้อมูล และใช้ Corema ในส่วนของการบริหารการตลาดเชิงลูกค้าสัมพันธ์ เพื่อเก็บรายชื่อลูกค้า 2.25 ล้านรายที่ซื้อสินค้าที่ซื้อบ่อย เพื่อให้คูปอง 5 เหรียญสำหรับการซื้อครั้งต่อไป
ผลที่ได้ หลังจากนั้น 2 เดือน ลูกค้าที่มาใช้บริการบ่อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์กลับมาซื้อสินค้าอีก

ที่มา
 http://www.spu.ac.th/~ktm/index12.html

นางสาววิชุดา ศิริ  บ.กจ.3/2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น